อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บทบาทหน้าที่

ภารกิจ/อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล

     ภารกิจของเทศบาลตำบลบ้านกล้วย ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน)  มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการส่งเสริมท้องถิ่น ในการดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

         เทศบาลตำบลต้องรับการถ่ายโอนภารกิจตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน) 

มาตรา 5058 เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
(1) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(2) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
(3) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(5) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
(6) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
(7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(8) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(9) หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
    การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน       

เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(2) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(3) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(4) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(5) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(6) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

     นอกจากนี้  ยังมีอำนาจหน้าที่   ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ตลอดจนกฎหมายอื่น ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 10  แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบาย
ของรัฐบาล  นโยบายผู้บริหาร  และสภาพปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่

     ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 
ภารกิจตามแผนกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  6  ด้าน  คือ
     1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน   
     2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
     3. ด้านการจัดระเบียบสังคมและรักษาความเรียบร้อย
     4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพานิชกรรม และการท่องเที่ยว
     5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     6. ด้านศาสนา ศิลปวัฒธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) ด้านการคมนาคมและการขนส่ง(ทางบกและทางน้ำ)
(2) ด้านสาธารณูปโภค (แหล่งน้ำ/ประปาชนบท)
(3) ด้านสาธารณูปการ(การจัดให้มีการควบคุมตลาด)
(4) การผังเมือง
(5) การควบคุมอาคาร 

2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้     
(1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
(2) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
(3) ด้านการส่งเสริมอาชีพ
(4) การสวัสดิการสังคม(การสังคมสงเคราะห์พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส
(5) การนันทนาการ(การส่งเสริมการกีฬา การจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ)
(6) การศึกษา(การจัดการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ)
(7) การสาธารณสุข(การสาธารณสุข การรักษาพยาบาล และการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

3. ด้านการจัดระเบียบสังคมและรักษาความเรียบร้อย มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพของประชาชนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
(2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(3) การรักษาความสงบเรียบร้อย และความเป็นระเบียบของบ้านเมือง

4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัว
(3) การหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของเทศบาลตำบล
(4) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(5) กิจการเกี่ยวการพาณิชย์
(6) การท่องเที่ยว

5. ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล 

 

           ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่า การดูแลรักษาที่สาธารณะ

6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(2) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญา
(3) การปกป้อง คุ้มครอง ควบคุม ดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
(4) การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน